ACCOR แจ้งรายได้ครึ่งปี 2563 ขาดทุนสุทธิ 1,512 ล้านยูโร
|มาตรการฉับพลันเพื่อจำกัดผลกระทบ จากวิกฤติ Covid –19
แผนการที่มั่นคงเพื่อเร่งการฟื้นตัว ปรับปรุงต้นทุนในการดำเนินการ & ลดการใช้เงิน
เปิดตัวแผนประหยัดต้นทุน 200 ล้านยูโร รายได้ลดลง 52.4% เป็น 917 ล้านยูโร (-48.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน) EBITDA ครึ่งปีแรกติดลบที่ 227 ล้านยูโร กระแสเงินสดอิสระติดลบ 473 ล้านยูโร ขาดทุนสุทธิ 1,512 ล้านยูโร
เซบาสเตียน บาแซ็ง ประธานกรรมการและหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารแอคคอร์ (Accor) กล่าวว่า:
“เหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนที่อุตสาหกรรมของเราได้กำลังเผชิญอยู่นั้นก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง เราได้พยายามจำกัดผลกระทบของวิกฤตนี้ต่อผลการดำเนินงานของเราโดยทำตามขั้นตอนเพื่อปกป้องทรัพยากรที่เรามีอยู่อันเป็นผลจากการปฏิรูปที่แอคคอร์ได้ดำเนินการในปีที่ผ่านมาและโครงสร้างทางการเงินที่มั่นคง รวมถึงได้พยายามจำกัดผลกระทบของวิกฤตต่อพนักงานของเราโดยโดยใช้มาตรการที่เป็นรูปธรรมและพร้อมให้การสนับสนุนโดยทันที จุดสูงสุดของวิกฤตการณ์ได้ผ่านมาแล้ว แต่การฟื้นตัวจะค่อยๆเกิดอย่างช้าๆ เมื่อได้ทำตามขั้นตอนฉุกเฉินข้างต้นแล้ว ในตอนนี้เราจำเป็นต้องดำเนินการต่อยอดจากโมเดลธุรกิจแบบ asset-light ไปเป็นบริษัทแบบ asset-light อย่างเต็มรูปแบบให้เสร็จสิ้น นอกเหนือจาก Covid-19 แล้วนี่เป็นสำคัญมาก แอคคอร์ต้องมีระบบที่ง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้น ลดกระบวนการที่สิ้นเปลือง และสร้างความสัมพันธ์กับอุตสาหกรรมให้แน่นแฟ้นขึ้นกว่าเดิม ความคิดริเริ่มที่เรากำลังนำมาใช้จะช่วยให้เราสามารถครองความเป็นผู้นำ ทำให้กระบวนการตัดสินใจของเรามีประสิทธิภาพมากขึ้น และช่วยในการฟื้นตัวของเรา แผนงานเหล่านี้จะดำเนินการด้วยความโปร่งใสผ่านจิตวิญญาณที่แท้จริงต่อคุณค่าของความสามัคคีและความมุ่งมั่นของเรา”
RevPAR ลดลง 59.3% ในครึ่งแรกของปี 2563 สะท้อนให้เห็นถึงสภาพแวดล้อมที่ย่ำแย่ในอุตสาหกรรมอันเชื่อมโยงกับการแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ทั่วโลก รวมถึงมาตรการล็อคและการปิดชายแดนที่ดำเนินการโดยรัฐบาลทั่วโลก
อย่างไรก็ตามเราได้เห็นสัญญาณของการฟื้นตัวในทุกๆภูมิภาค หลังจากได้รับผลกระทบอย่างหนักในช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคม ในเอเชียแปซิฟิคเป็นที่แรก (RevPAR ลดลง 77.4% ในไตรมาสที่ 2) ก่อนค่อยๆขยายตัวไปในภูมิภาคอื่นๆ โดยเฉพาะยุโรป (RevPAR ลดลง 90.6% ในไตรมาสที่ 2)
ในช่วงครึ่งปีแรก แอคคอร์เปิดตัวโรงแรมทั้งหมด 86 แห่ง คิดเป็นจำนวนห้องพัก 12,000 ห้อง แสดงให้เห็นถึงความน่าสนใจของบริษัทต่อผู้ลงทุนโรงแรม ปลายเดือนมิถุนายน 2563 บริษัท มีห้องพักรวมทั้งสิ้น 747,805 ห้อง (5,099 โรงแรม) ในพอร์ตโฟลิโอ และยังมีห้องพักอีก 206,000 ห้อง (1,197 โรงแรม) ที่อยู่ในขั้นตอนการพัฒนา โดย 75% ของโรงแรมอยู่ในตลาดเกิดใหม่
ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2563 81% ของโรงแรมในเครือข่ายแอคคอร์ได้เปิดทำการให้บริการ คิดเป็นจำนวนห้องพักกว่า 4,000 ห้อง
รายได้รวม
รายได้รวมในครึ่งแรกปี 2563 อยู่ที่ 917 ล้านยูโร ลดลง 48.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และลดลง 52.4% ตามรายงาน เมื่อเทียบกับครึ่งแรกของปี 2562
In € million |
H1 2019 | H1 2020 | Change (as reported) |
Change (LFL)(1) |
HotelServices |
1,366 |
650 |
(52.4)% |
(52.8)% |
Hotel Assets |
519 |
237 |
(54.4)% |
(40.2)% |
New Businesses |
77 |
46 |
(40.3)% |
(40.5)% |
Holding & Intercos |
(36) |
(16) |
N/A |
N/A |
Total | 1,926 | 917 | (52.4)% |
(48.8)% |
(1) Like-for-like: at constant scope of consolidation and exchange rates.
รายได้ตามรายงานดังกล่าวสะท้อนปัจจัยดังต่อไปนี้:
• การเปลี่ยนแปลงในกรอบคำนวณรายได้ (การซื้อและขายกิจการ) มีผลกระทบเชิงลบคิดเป็นมูลค่า 57 ล้านยูโร โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการจำหน่ายโรงแรมสัญญาเช่าซื้อในแบรนด์ Mövenpick
• ผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนมีผลกระทบทางลบ คิดเป็นมูลค่า -13 ล้านยูโร จากสกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลียเป็นหลัก (-4.6%) และสกุลเงินเรียลบราซิล (-19.1%)
รายได้จากบริการ HotelServices
บริการ HotelServices ซึ่งรวมถึงค่าธรรมเนียมจากบริหารจัดการ & แฟรนไชส์ (M&F) และบริการแก่เจ้าของ รายงานรายได้ 650 ล้านยูโร ลดลง 52.8% จากปีก่อน สะท้อนให้เห็นถึงการลดลงของ RevPAR อันเป็นผลจากวิกฤตการณ์ทางสุขภาพและการปิดชายแดนที่ดำเนินการโดยรัฐบาลทั่วโลก
การบริหารจัดการ & แฟรนไชส์ (M&F) มีรายได้จาก 139 ล้านยูโร ลดลงอย่างมากที่ 72% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อนให้เห็นถึงการลดลงของของค่าธรรมเนียมตามอัตรากำไรจากการดำเนินงานของโรงแรมที่เกิดจากสัญญาการจัดการ
RevPAR โดยรวม ปรับตัวลดลง 59.3% ในครึ่งปีแรก และลดลง 88.2% ในไตรมาสที่ 2
รายได้จากการบริหารจัดการ & แฟรนไชส์ (M&F) ในยุโรปลดลง 74.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ RevPAR รวม ลดลง 62.1%
• ใน ฝรั่งเศส RevPAR ลดลง 60.4% ในช่วงครึ่งปีแรก เมื่อเทียงกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โรงแรมภายใต้เครือแอคคอร์ส่วนใหญ่ ได้ปิดให้บริการช่วงเดือนมิถุนายน ปารีส (RevPAR ลดลง 62.2%) ได้รับผลกระทบหนักกว่าส่วนอื่นของฝรั่งเศส (RevPAR ลดลง 58.9%) แนวโน้มนี้ชัดเจนยิ่งขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม
• ใน สหราชอาณาจักร RevPAR ลดลง 64.5% ในลอนดอน RevPAR ลดลง 64.8% ซึ่งค่อนข้างได้รับผลกระทบหนักกว่าส่วนอื่นของประเทศ (-63.5%) การล็อคดาวน์สิ้นสุดช้ากว่าประเทศอื่นๆในยุโรป และโรงแรมในเครือข่าย 99% ในประเทศได้ปิดให้บริการจนถึงปลายเดือนมิถุนายน
• ใน เยอรมันนี RevPAR ลดลง 58.3% เนื่องจากการมาตรการล็อคดาวน์ในประเทศเริ่มเร็วกว่าประเทศอื่นๆในยุโรป
• ใน สเปน RevPAR ลดลง 68.7% ในครึ่งแรกของปี
รายได้จากการบริหารจัดการ & แฟรนไชส์ (M&F) ในเอเชียแปซิฟิคลดลง 70.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำให้ RevPAR ลดลง 54.7%
• ประเทศจีน มีการฟื้นตัวที่น่าสนใจของ RevPAR โดยลดลง 51.9% ในเดือนมิถุนายน และลดลง 65.2% ในช่วงหกเดือนแรกของปี
• ใน ออสเตเรีย RevPAR ลดลง 49.3% ในครึ่งแรกของปี มีการลดลงน้อยกว่าประเทศอื่นๆ อย่างมีนับสำคัญ เนื่องจากผลกระทบของ Covid-19 ในช่วงไตรมาสแรกมีน้อยกว่า (-18.2%) มาตรการกักกันที่รัฐบาลกำหนดนั้น เป็นแหล่งธุรกิจหลักสำหรับโรงแรม
แอฟริกาและตะวันออกกลาง รายงานรายได้จากการบริหารจัดการ & แฟรนไชส์ (M&F) ลดลง 72.5% และ RevPAR ลดลง 55.6% เนื่องจากการปิดพรมแดน การจำกัดคนของพิธีแสวงบุญทางศาสนาในซาอุดิอาระเบียจะยังคงมีอิทธิพลต่อ RevPAR ในอีกไม่กี่เดือน
อเมริกาเหนือ อเมริกากลาง และแถบแคริเบียน รายงานรายได้จากบริหารจัดการ & แฟรนไชส์ (M&F) ลดลง 66.0% RevPAR ลดลง 64.3% ในช่วงครึ่งปีแรก รายได้ค่าธรรมเนียมตามส่วนต่างกำไรจากการดำเนินงานของโรงแรมที่ลดลง (เช่น“ ค่าธรรมเนียมจูงใจ”) ถูกชดเชยด้วยรายได้อื่นๆ ที่เกิดจากการบริหารและสัญญาแฟรนไชส์
สุดท้าย การแพร่ระบาดของโรคไปยัง อเมริกาใต้ ส่งผลกระทบเชิงลบอย่างมากต่อ RevPAR ลดลง 52.4% ในครึ่งแรกของปี ส่วนรายได้จากการบริหารจัดการ & แฟรนไชส์ (M&F) ลดลง 62.1%
บริการสำหรับเจ้าของกิจการ ซึ่งรวมถึงบริการของฝ่ายขาย การตลาด การจัดจำหน่าย และโปรแกรมสมาชิก รวมถึงบริการร่วมและการชำระค่าใช้จ่ายสำหรับพนักงานโรงแรม สร้างรายได้ทั้งสิ้น 511 ล้านยูโร ลดลงจาก 879 ล้านยูโร ในปลายเดือนมิถุนายน 2562
รายได้สินทรัพย์โรงแรม & รายได้อื่นๆ
รายได้สินทรัพย์โรงแรม & รายได้อื่นๆ ลดลง 40.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ลงมาอยู่ที่ 237 ล้านยูโร รายได้ลดลงในระดับปานกลางเนื่องจาก ผลกระทบของ Covid-19 ที่ชะลอตัวในประเทศออสเตรเลียในช่วงครึ่งแรกของปี และความล่าช้าในการแพร่กระจายของโรคระบาดไปยังบราซิล รายได้ที่ลดลง 54.4% ตามรายงานนั้นมาจากการจำหน่ายโรงแรมสัญญาเช่าซื้อในแบรนด์ Mövenpick ในช่วงต้นเดือนมีนาคม 2563
ฐานโรงแรมจากธุรกิจนี้ประกอบด้วยโรงแรม 168 แห่ง คิดเป็นห้องพักจำนวน 30,071 ห้อง ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2563
รายได้จากธุรกิจใหม่
ธุรกิจใหม่ (บริการ concierge, การเช่าบ้านหรู, Private Sales สำหรับห้องพักโรงแรมระดับลักซ์ชัวรี่ และบริการดิจิทัลสำหรับโรงแรม) สร้างรายได้ 46 ล้านยูโร ในปลายเดือนมิถุนายน 2563 ลดลง 40.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน อันเป็นผลจากอัตราแลกเปลี่ยน
ต้นทุนการดำเนินการลดลง
กำไรรวมก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีเงินได้ค่าเสื่อม ราคาและค่าตัดจำหน่าย (Consolidated EBITDA) ติดลบ 227 ล้านยูโร ในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 ลดลง 153.7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และลดลง 160.5% ตามรายงานเมื่อเทียบกับครึ่งแรกของปี 2562 EBITDA มีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของ RevPAR
ต้นทุนการดำเนินการลดลง
กำไรรวมก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีเงินได้ค่าเสื่อม ราคาและค่าตัดจำหน่าย (Consolidated EBITDA) ติดลบ 227 ล้านยูโร ในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 ลดลง 153.7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และลดลง 160.5% ตามรายงานเมื่อเทียบกับครึ่งแรกของปี 2562 EBITDA มีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของ RevPAR
EBITDA จากบริการ HotelServices ติดลบที่ 141 ล้านยูโรในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 ผลการดำเนินงานนี้ลดลงเนื่องจาก EBITDA ถึงจุดคุ้มทุนสำหรับการบริหารและแฟรนไชส์ (M&F) และรายได้ที่ติดลบจากบริการสำหรับเจ้าของกิจการซึ่งมีผลสำคัญจากต้นทุนคงที่ รวมถึง RevPAR ที่ลดลงอย่างมากสำหรับธุรกิจการขาย การตลาด การจัดจำหน่าย และโปรแกรมสมาชิก
In € millions |
M&F |
Services to Owners |
HotelServices |
Revenue H1 20 |
139 |
511 |
650 |
EBITDA H1 20 |
0 |
(141) |
(141) |
EBITDA margin |
0.0% |
(27.5)% |
(21.6)% |
Revenue H1 19 |
486 |
879 |
1 366 |
EBITDA H1 19 |
353 |
(9) |
344 |
EBITDA margin |
+ 72.6% |
(1.1)% |
+ 25.2% |
ส่วนธุรกิจการบริหารและแฟรนไชส์ HotelServices รายงาน EBITDA ลดลง 100.7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยแต่ละภูมิภาคใกล้ถึงจุดคุ้มทุน ที่น่าสังเกตคืออเมริกาเหนือและอเมริกากลางและแคริบเบียน ที่ EBITDA เป็นบวกในช่วงครึ่งปีแรกเนื่องจากรายได้ลดลงปานกลางเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น
EBITDA จากรายได้สินทรัพย์โรงแรม & รายได้อื่นๆ
EBITDA จากสินทรัพย์โรงแรม & รายได้อื่นๆ มีมูลค่าติดลบ 10 ล้านยูโร ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2563 เทียบกับ 97 ล้านยูโร ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2562 การปรับตัวลดลง 87.9% สะท้อนให้เห็นถึงมาตรการที่ดำเนินการเพื่อปรับโครงสร้างต้นทุนเพื่อจำกัดการสูญเสีย มาตรการดังกล่าวรวมถึงการลดจำนวนพนักงาน และ/หรือ การลดชั่วโมงทำงานในยุโรปและออสเตรเลีย
รายได้ที่ลดลง 110.5% ตามรายงานส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการจำหน่ายโรงแรมสัญญาเช่าซื้อในแบรนด์ Mövenpick ในช่วงต้นเดือนมีนาคม 2563
EBITDA จากธุรกิจใหม่
EBITDA จากธุรกิจใหม่ ติดลบ 16 ล้านยูโรในครึ่งแรกของปี 2563 เทียบกับ ติดลบ 1 ล้านยูโรในครึ่งแรกของปี 2562
กำไรสุทธิ
นอกเหนือจากการลดลงของ EBITDA ที่นำเสนอข้างต้น แอคคอร์ยังรายงานผลขาดทุนสุทธิที่ 1,512 ล้านยูโร อันเป็นผลมากจาก:
• ส่วนแบ่งกำไรสุทธิของ บริษัทร่วมและกิจการร่วมค้า (Joint Ventures): ติดลบ 353 ล้านยูโร อันเนื่องมาจากการรวมกันของผลขาดทุนจากการดำเนินงานและการด้อยค่าของสินทรัพย์ซึ่งเชื่อมโยงกับ AccorInvest, sbe และ Huazhu
• รายได้และค่าใช้จ่ายที่ไม่เกิดขึ้นจริง: มีค่าใช้จ่าย 1,000 ล้านยูโร ส่วนใหญ่เกิดจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ กล่าวคือ 13% ของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน การด้อยค่าเหล่านี้เป็นผลมาจากการคาดการณ์ที่คาดว่าจะได้รับผลตอบแทนในปี 2566 ก่อนเกิดวิกฤต และการเพิ่มขึ้นของอัตราคิดลดเนื่องจากความผันผวนของตลาด
• กำไรจากการดำเนินงานที่ยกเลิก ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับกำไรจากการขาย Orbis
กระแสเงินสดอิสระของบริษัท ติดลบอยู่ที่ 473 ล้านยูโร ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2563 อันเป็นผลมาจากการติดลบของ EBITDA และการเปลี่ยนแปลงความต้องการเงินทุนหมุนเวียน (WCR) และสินทรัพย์ตามสัญญาซึ่งประกอบไปด้วยการขยายกำหนดเวลาการชำระเงินแก่เจ้าของโรงแรมอันเป็นผลมาจากวิกฤตทางด้านสุขภาพและการถูกบังคับให้ปิดสถานประกอบการ
ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นประจำ – ซึ่งรวมถึง“ เงินสำคัญ” ที่จ่ายโดยบริการ HotelServices สำหรับการพัฒนาและการลงทุนด้านดิจิตอลและไอที รวมถึงค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาในโรงแรมที่เป็นเจ้าของและให้เช่า – เป็นจำนวน 61 ล้านยูโรในปี 2563 เทียบกับ 75 ล้านยูโร ในปีก่อนหน้า
การเผาไหม้เงินรายเดือน อยู่ที่ 80 ล้านยูโรในช่วงครึ่งแรกของปี 2563
หนี้สินทางการเงินสุทธิของบริษัท ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2563 อยู่ที่ 1,092 ล้านยูโร เทียบกับ 1,333 ล้านยูโรจากวันที่ 31 ธันวาคม 2562 การลดลงนี้ส่วนใหญ่เกิดจากการการขาย Orbis เป็นมูลค่า 1.06 พันล้านยูโร ในต้นเดือนมีนาคม 2563 และการจำแนก Sequana Tower ซึ่งเป็นอาคารสำนักงานใหญ่ของแอคคอร์ ใน Issy-les-Moulineaux ประเทศฝรั่งเศส เป็นสินทรัพย์และหนี้สินที่ถือไว้เพื่อขาย
ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2563 ต้นทุนเฉลี่ยของหนี้สินของแอคคอร์อยู่ที่ 1.51% โดยมีระยะเวลาชำระหนี้เฉลี่ย 2.7 ปี
เมื่อรวมกับสินเชื่อหมุนเวียนที่ยังไม่ได้เบิกถอนสองรายการ (RCF) รวม 1.76 พันล้านยูโร ต่อเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดที่รายงานในงบดุล แอคคอร์ได้รับประโยชน์จากสถานะสภาพคล่องที่แข็งแกร่ง โดยมีมูลค่ามากกว่า 4.0 พันล้านยูโร ในสิ้นเดือนมิถุนายน 2563
ตามคำตัดสินของศาลปกครองฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2563 แอคคอร์ได้รับประโยชน์จากการคืนเงินจำนวน 307 ล้านยูโรที่เชื่อมโยงกับข้อพิพาททางภาษี ซึ่งช่วยเสริมสภาพคล่องของบริษัท ที่ได้รายงานไปแล้ว ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2563 ในเดือนตุลาคม 2561 ศาลยุติธรรมแห่งยุโรปได้ตัดสินว่าระบบเครดิตภาษีสำหรับการจ่ายเงินปันผลนั้นตรงกันข้ามกับกฎระเบียบของสหภาพยุโรป คำตัดสินขั้นสุดท้ายจากหน่วยงานด้านภาษีของฝรั่งเศสอาจถูกส่งมอบภายในสองเดือนข้างหน้า จำนวนเงินเหล่านี้ไม่ได้มีผลกระทบต่องบการเงินรวม ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2563
การเปิดตัวแผนประหยัดต้นทุน 200 ล้านยูโร
เมื่อเกิดวิกฤต แอคคอร์ได้ใช้มาตราการที่เข้มงวดเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อรายได้ อันได้แก่ แผนการประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่ายทั่วไป และบริหารประจำปี (G&A) 60 ล้านยูโร ซึ่งสำเร็จไปแล้ว 60% ภายในสิ้นเดือนมิถุนายน 2563 รวมถึงการลดต้นทุนการดําเนินงานอื่นๆ (ค่ายใช้จ่ายด้านฝ่ายขาย การตลาด การจัดจำหน่าย และโปรแกรมสมาชิก) อย่างเข้มงวด
ในระยะที่สองนี้ บริษัท ได้ทำการทบทวนตรวจสอบองค์กรผ่านการวิเคราะห์ที่ละเอียดและมีหลักเกณฑ์ เพื่อปรับตัวเข้าสู่โมเดลธุรกิจใหม่แบบ asset-light ซึ่งจะนำไปสู่การดำเนินการตามแผนการประหยัดต้นทุน 200 ล้านยูโร บนฐานต้นทุน 1.2 พันล้าน ในปี 2019 (เช่น บริการ HotelServices และบริษัทโฮลดิ้ง)
แผนการประกอบไปด้วย:
• ลดความซับซ้อนและปรับโครงสร้างการดำเนินงานในภูมิภาคต่าง ๆ
• ใช้ระบบอัตโนมัติสำหรับงานที่มีกระบวนการซ้ำ ๆ
70% ของการประหยัดต้นทุนเหล่านี้ จะมีผลภายในสิ้นปี 2564 และ 100% ในปลายปี 2565
คำแนะนำเกี่ยวกับ EBITDA ปี 2563
โดยปกติ แอคคอร์ จะให้แนะนำแนวทางเกี่ยวกับ EBITDA ของทั้งปีในการนำเสนอผลประกอบการครึ่งปี แต่เนื่องจากความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นจากวิกฤตการณ์ Covid-19 บริษัทจึงยังมีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะให้แนวทางที่เหมาะสมสำหรับตัวชี้วัดประสิทธิภาพนี้